The Silver Lining Playbook – หนังดีที่ควรดู

The Silver Lining Playbook

เป็นหนังสือเล่มแรกในชีวิตของ แมธธิว ควิก
ได้ตีพิมพ์ในปี 2008แล้วมันก็ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม จนนำมาถูกสร้างเป็นภาพยนตร์
ด้วยการเล่าเรื่องของผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ ( Patients with bipolar disorder )ได้ออกมาอย่างน่ารักและเข้าอกเข้าใจในมุมมองที่สื่อว่า

“ผู้ป่วยไม่เป็นปัญหาของสังคม”

เรียกได้ว่า  หนังเอาคนไม่ปกติ(แต่ไม่ถึงกับรุนแรง)มาเดินเรื่อง
เพราะ  อาจมีแนวร่วมเช่นนี้เยอะ ในสังคมที่เป็นจริงในยุคสมัย ก็ได้

หลายตอนดูแล้ว  ขัดหูขัดตา   ดังนั้น  ผู้ชมจึงควรมีพื้นฐานความเข้าใจต่อผู้ป่วยประเภทนี้
จึงจักสามารถสังเกตติดตาม  พฤติกรรมว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป  เขาแก้ปัญหาอย่างไร

จะพบได้ว่า   นางเอกค่อนข้างรุกและมีเหตุผลมากกว่าพระเอก
และจะเห็นว่า  ในสังคมตะวันตกนั้น   การตัดสินใจใดๆมักใช้เหตุผลมาคัดง้างกัน
แล้วได้ข้อสรุปจากเหตุผลที่ดีกว่าเป็นข้อยุติ  แล้วเดินหน้าต่อ..โดยไม่ได้คิดว่าเสียหน้าแต่อย่างใด

เรื่องราวของ แพท โซลาทาโน (แบรดลีย์ คูเปอร์) สูญสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งบ้าน, งาน และภรรยา
ภายหลังใช้เวลาแปดเดือนในโรงพยาบาลจิตเวช เขาต้องกลับมาอาศัยอยู่กับแม่ (แจ็คกี้ วีฟเวอร์) และพ่อ (โรเบิร์ต เดอนิโร)
โดยหวังจะเริ่มชีวิตใหม่ด้วยการไปขอคืนดีกับภรรยา ทว่าพ่อกับแม่อยากให้เขาปลดเปลื้องภาระทางใจทิ้งให้หมด
และใช้เวลากับทีมอเมริกันฟุตบอลสุดโปรดของครอบครัว

แต่แล้วเรื่องราวก็เริ่มยุ่ง เมื่อแพทได้พบ ทิฟฟานี (เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์)
หญิงสาวลึกลับมากปัญหา ผู้อาสามาเป็นแม่สื่อให้เขาได้ปรับความเข้าใจกับภรรยา
โดยแลกกับการที่แพทต้องช่วยเหลือเธอบางอย่างเช่นกัน
ทันทีที่ข้อตกลงสัมฤทธิ์ผล สายสัมพันธ์ระหว่างคนทั้งคู่ก็เริ่มต้น
ทำให้ชีวิตของพวกเขาแปรผันไปนับแต่บัดนั้น

ในหนังจะพบว่า   พระเอกตรึงแน่นกับปมรักในอุดมคติ
ในขณะที่นางเอกนั้น ค่อนข้างฉลาด  และเชื่ออย่างกระหายต่อการเข้าถึง แรงใจใคร่รักที่พระเอกมีต่อเธอครั้งแรกนั้นให้ได้
ซึ่งก็คือ  การทำงานของอาการป่วยของเธอนั่นแหละ  แล้วพัฒนาแปรเปลี่ยนไปเป็นกิจกรรมสร้างสรร คือ การฝึกการเต้นรำคู่เพื่อแข่งขัน
ในขณะที่ฝ่ายชาย  ก็มีเงื่อนไขให้หญิงช่วยเพื่อเป็นสื่อกลางถึงภรรยาตน  เรียกได้ว่า  ทั้งสองร่วมกิจกรรมบำบัดตนเองไปพร้อมกันอย่างมีแผนขั้น
ตอน   สุดท้ายมีการหักมุมด้วยการฉุกคิดได้ของพระเอกว่า  ที่แท้ตัวเองต้องการอะไร  ไม่ใช่ฝืนฝันที่พลาดผิดไปแล้ว  แต่คือปัจจุบันของผู้หญิงที่อยู่ตรงหน้าที่เปิดใจให้  มิใช่หรือ?….

จะเห็นว่าในสังคมตะวันตกนั้น   การตัดสินใจใดๆมักใช้เหตุผลมาคัดค้านกัน
แล้วได้ข้อสรุปจากเหตุผลที่ดีกว่าเป็นข้อยุติ  แล้วเดินหน้าต่อ..โดยไม่ได้คิดว่าเสียหน้าแต่อย่างใด

ดังเช่น ความรักของทั้งแพทและทิฟฟานี่

 
               “ดูหนังเรื่องนี้จบแล้วอิ่มใจ ประทับใจมากไม่รู้จะวิจารณ์อะไร เพราะไม่ใช่คนที่จะ เก่งเรื่องวิจารณ์หนังหรือรู้เรื่องราวอะไรมาก แต่เอาเป็นว่าแค่ดูหนังเรื่องหนึ่ง แล้วมันประทับใจ ทำให้ได้ใช้ความคิด หรือได้ข้อคิดอะไรหลายๆอย่างจากในหนัง ถือว่าโอเคแล้วค่ะ องค์ประกอบทุกอย่างลงตัวสมควรแล้วสำหรับรางวัลออสการ์ที่ได้
                นอกจากความประทับใจในเรื่องการแสดงแล้ว ข้อคิดและสิ่งที่ได้จากหนังเรื่องนี้นับว่าคุ้มค่ากับการเสียเวลาและเสียเงินเพื่อหามาดูอย่างยิ่ง เพราะจะมีหนังเรื่องไหนที่จะเข้าใจและพยายามแสดงให้เห็นว่าบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิต เป็นคนสองบุคลิกที่ใครๆก็หวาดกลัว สามารถใช้ชีวิตและร่วมดำเนินชีวิตไปกับคนธรรมดาอย่างพวกเราได้  หนังเรื่องนี้สามารถสร้างกระแสนิยมและแนวคิดในการยอมรับผู้ป่วยให้อยู่ร่วมกับสังคมได้เป็นอย่างยิ่ง เมื่อดูหนังเรื่องนี้จนจบความรู้สึกอิ่มใจ ประทับใจจะท่วมท้นขึ้นมาทันที ” ในมุมมองของ ฐา นะจ๊ะ 
 

หนังเรื่องนี้มีชื่อเข้าชิงออสการ์ในรางวัลใหญ่สุดทั้ง 8 สาขา อันได้แก่

ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม,ผู้กำกับยอดเยี่ยม,

นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม,นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม,นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม,

นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม,ตัดต่อยอดเยี่ยม และ บทภาพยนต์ยอดเยี่ยม

Bradley Cooper เล่นได้ดีมากๆ

ดูเป็นผู้ชายที่อบอุ่น แต่มีอารมณ์หรือการแสดงออกแบบโมโหร้ายได้

แม้จะขัดกับสายตาหวานๆแต่ก็ดูลงตัว จัดได้ว่าเป็นตัวละครหนึ่งที่ถูกถ่ายทอดออกมาได้อย่างสมจริง

Jennifer Lawrence แทบจะหาที่ติไม่ได้

ไม่งั้นคงไม่ทำให้เธอได้รางวัล Best Actress มาครอง

บทคนบ้าเธอก็สามารถถ่ายทอดออกมาได้ทั้งมึน ทั้งบ้าแบบไม่ห่วงสวย

บทจะเศร้าก็ส่งสายตาละห้อยจนคนดูนี่น้ำตาคลอเบ้าไปตามๆกัน

ยิ่งมาเข้าขากับแบรดลี่ด้วย ชวนจิ้น ฟินกระจาย เคมีเข้ากันสุด

หากมีเวลาว่างๆอยากหาหนังดีๆสักเรื่องมาดูเพื่อผ่อนคลาย

ฐาแนะนำเรื่องนี้เลยค่ะ หนังรักแทรกความตลก

ดูแล้วไม่อิน ไม่ฟิน ไม่ประทับใจ

ยินดีให้หลังไมค์ต่อว่าได้เลย

ใส่ความเห็น